วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์(Projectile Motion)


การเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์(Projectile Motion)
โพรเจกไทล์(projectile) คือวัตถุที่เคลื่อนที่แบบเสรีโดยมีความเร็วในแนวราบ
การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์(projectile motion) เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุ
โดยมีแนวการเคลื่อนที่ เป็นแนวโค้ง
ลักษณะทั่วไปของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
1. แนวการเคลื่อนที่เป็นวิถีโค้งพาราโบลา
2. การกระจัด มี 2 แนว เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน และเป็นอิสระต่อกัน ได้แก่ การกระจัดในแนวราบ
และการกระจัดในแนวดิ่ง ความสัมพันธ์ระหว่างการกระจัดในแนวราบและการกระจัดในแนวดิ่ง เป็นดังนี้
2.1 การกระจัดในแนวราบ เกิดจากการเคลื่อนที่ภายใต้ความเร็วคงที่ ดังนั้นเมื่อคิดในช่วงเวลาที่เท่าๆกัน
จะมีการกระจัดเท่ากันเสมอ
2.2 การกระจัดในแนวดิ่ง เกิดจากการเคลื่อนที่ภายใต้ความเร่งคงที่ ดังนั้นเมื่อคิดในช่วงเวลาที่เท่าๆกัน
จะมีการกระจัดเปลี่ยนไปเสมอ
โพรเจกไทล์แบบที่ 1
ลักษณะ เป็นโพรเจกไทล์ที่มีความเร็วเริ่มต้นในแนวราบ (ไม่เป็นศูนย์) และความเร็วต้นในแนวดิ่งเป็นศูนย์
ดังนั้น การพิจารณาการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ ต้องพิจารณาการเคลื่อนที่ 2 ทิศทางประกอบกัน คือพิจารณา
ในแนวดิ่งและแนวราบ ดังนั้นความเร็วขณะใดๆของการเคลื่อนที่จะประกอบด้วย 2 แนว ดังกล่าว โดยทิศของ
ความเร็วขณะใดๆ จะเป็นเส้นสัมผัสกับเส้นโค้งของแนวการเคลื่อนที่เสมอ ความเร็วความเร็วแนวราบ (แกน x)
มีค่าคงที่ ดังนั้น ความเร็วแนวดิ่ง (แกน y) มีค่าเพิ่มขึ้นเหมือนการตกแบบเสรี ภายใต้แรงโน้มถ่วงที่มีความเร่ง
คงที่ g
โพรเจกไทล์แบบที่ 2
ลักษณะ เป็นโพรเจกไทล์ที่มีความเร็วเริ่มต้นในแนวราบ (ไม่เป็นศูนย์) และความเร็วต้นในแนวดิ่ง (ไม่เป็นศูนย์)
ดังนั้น โดยมีความเร็วต้น u ในทิศทำมุม กับแนวราบ การพิจารณาการเคลื่อนที่ของโพรเจกไทล์แบบที่ 2 มีหลักการ
เหมือนแบบที่ 1 คือ ต้องพิจารณาการเคลื่อนที่ 2 ทิศทางประกอบกัน ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ ดังนั้นความเร็ว
ขณะใดๆของการเคลื่อนที่จะประกอบด้วย 2 แนว ดังกล่าว โดยทิศของความเร็วขณะใดๆ จะเป็นเส้นสัมผัสกับ
เส้นโค้งของแนวการเคลื่อนที่เสมอ ความเร็วความเร็วแนวราบ (แกน x) มีค่าคงที่ ดังนั้น ความเร็วแนวดิ่ง
(แกน y) มีความเร็วเริ่มต้น ตอนขาขึ้นความเร็วมีค่าลดลงเรื่อยๆ จนถึงจุดสูงสุด มีความเร็วต่ำสุด ขาลงมีความเร็ว
เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้แรงโน้มถ่วงที่มีความเร่งคงที่ g ในทิศลง ที่จุดสูงสุด ดังนั้นถ้าคิดการเคลื่อนที่นับจากตำแหน่ง
สูงสุดนี้ในขาลงจึงเหมือนกันโพรเจกไทล์แบบที่ 1 นั่นเอง
โพรเจกไทล์แบบที่3
ลักษณะ เป็นโพรเจกไทล์ที่มีความเร็วเริ่มต้นในแนวราบ และความเร็วต้นในแนวดิ่ง (ไม่เป็นศูนย์) แต่มี
จุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายอยู่ในระดับเดียวกัน เช่นการเคลื่อนที่ของลูกบอลจากพื้นสู่พื้นดังนั้น โดยมีความเร็วต้น u
ในทิศทำมุม กับแนวราบ การพิจารณาการเคลื่อนที่ของโพรเจกไทล์แบบที่ 2 มีหลักการเหมือนแบบที่ 1 และ 2
คือ ต้องพิจารณาการเคลื่อนที่ 2 ทิศทางประกอบกัน ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ ดังนั้นความเร็วขณะใดๆของ
การเคลื่อนที่จะประกอบด้วย 2 แนว ดังกล่าว โดยทิศของความเร็วขณะใดๆ จะเป็นเส้นสัมผัสกับเส้นโค้งของ
แนวการเคลื่อนที่เสมอ ความเร็วความเร็วแนวราบ (แกน x) มีค่าคงที่ ดังนั้น ความเร็วแนวดิ่ง (แกน y)
ตอนขาขึ้นความเร็วมีค่าลดลงเรื่อยๆ จนถึงจุดสูงสุด มีความเร็วต่ำสุด ขาลงตวามเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ภายใต้แรงโน้มถ่วงที่มีความเร่งคงที่ g ในทิศลง

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ืnewton'law

กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันเป็นกฎที่อธิบายธรรมชาติของการเคลื่อนที่ของวัตถุต่างๆ ในเอกภพ ผู้เสนอคือไอแซก นิวตัน นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ

กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน มีด้วยกัน 3 ข้อ
  1. วัตถุจะหยุดนิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วและทิศทางคงที่ได้ต่อเมื่อผลรวมของแรง(แรงลัพธ์) ที่กระทำต่อวัตถุเท่ากับศูนย์
  2. เมื่อมีแรงลัพธ์ที่ไม่เป็นศูนย์มากระทำต่อวัตถุ จะทำให้วัตถุที่มีมวลเกิดการเคลื่อนที่ด้วยความเร่ง โดยขนาดของแรงจะเท่ากับมวลคูณความเร่ง
  3. ทุกแรงกิริยาย่อมมีแรงปฏิกิริยาที่มีขนาดเท่ากันแต่ทิศทางตรงกันข้ามเสมอ กฎข้อแรกและข้อที่สองของนิวตัน เขียนเป็นภาษาละติน จาก Philosophiae Naturalis Principia Mathematica ฉบับดังเดิม ค.ศ. 1687
    มวล แรง และกฏการเคลื่อนที่

    มวลสาร น้ำหนัก แรง
    หากพิจารณาวัตถุสสารใด ๆ จะเห็นว่า บางวัตถุมีความหนาแน่นของเนื้อวัตถุมาก

    มวลสาร (Mass) จึงเป็นปริมาณที่จะบอกคุณสมบัติของวัตถุ และถ้ามีแรง
    มากระทำต่อวัตถุพื้น ก็จะเกิดสภาพการต่อต้านสภาวะการเคลื่อนที่ เช่น ถ้าออกแรงผลักวัตถุ
    ที่มีมวลสารหนาแน่น ก็ต้องออกแรงมาก

    แรง (Force) คือปริมาณทางฟิสิกส์ที่กระทำต่อวัตถุ แล้วจะทำให้วัตถุนั้น
    เคลื่อนที่ด้วยความเร่ง

    น้ำหนัก (weight) เมื่อวัตถุอยู่ภายใต้แรงดึงดูดของโลก จะมีแรงดึงดูดที่ทำให้
    วัตถุตกจากที่สูง และเคลื่อนที่เข้าสู่ศูนย์กลางของโลก แรงของโลกที่ดึงดูด มีค่าเท่ากับ
    W = mg ดังรูป

    กฎการเคลื่อนที่ 3 ข้อของนิวตัน
    เซอร์ไอแซคนิวตัน นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ผู้มีผลงานโดดเด่นหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการ
    คำนวณระหว่างแสงกับมวลสาร เขาได้อธิบายว่า ทำไมดวงจันทร์จึงโคจรรอบ โลก และทำไมโลกจึง
    โคจรรอบดวงอาทิตย์ แรงที่กระทำต่อวัตถุที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก และทำให้วัตถุตก
    จากที่สูงเคลื่อนที่อัตราเร่ง g
    นิวตันให้หลักการคำนวณที่เกิดจากแรงไว้ 3 ข้อ และเป็นกฎที่
    สำคัญในการใช้อธิบายหลักการทางฟิสิกส์ได้เป็นอย่างดี

    กฎข้อ 1 Law of Inertia (กฎของความเฉื่อย)
    ถ้าวัตถุอยู่ในสภาพนิ่ง ก็จะรักษาสภาพนิ่ง ถ้าวัตถุอยู่ในสภาพการเคลื่อนที่
    ด้วยความเร็วคงที่ ก็จะเคลื่อนที่เช่นนั้น จนกว่าจะได้รับแรงจากภายนอกมากระทำ
    ต่อวัตถุนั้น

    กฎข้อ 2 F = ma
    เมื่อมีแรงมากระทำต่อวัตถุ และผลรวมของแรงนั้นไม่เป็นศูนย์ จะทำให้
    วัตถุนั้นเคลื่อนที่ในทิศทางเดียวกับแรงลัพธ์ ความเร่งจะมีขนาดแปรผกผันกับมวล ของวัตถุ

    ่้ กฎข้อ 3 Action = Reaction
    เมื่อมีแรงกระทำเป็นแรงกริยาทุกแรงต้องมีแรงปฏิกริยา ซึ่งมีขนาดเท่ากัน
    และทิศทางตรงข้าม
    http://www.school.net.th/library/webcontest2003/100team/dlnes137/physic/force.html